Archives

0

Networked Based Positioning

Didew Thursday, October 14, 2010
การพัฒนาระบบการระบุตำแหน่งนั้นมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุน เครือข่ายไร้สายที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงสามารถนำมาใช้กับเทคโนโลยีนี้ได้ ตามหลักแล้ว สัญญาณโทรศัพท์มือถือนั้นเหมาะสมกับจุดประสงค์นี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเสาสัญญาณนั้น ก็มีการระบุรหัส หรือหมายเลขจำเพาะ และสถานที่ตั้งของแต่ละเสาอยู่แล้ว จึงสามารถใช้กับเทคนิค Cell of Origin (COO) ได้ ส่วนเทคนิคการค้นหาตำแหน่งเช่น TOA หรือ AOA ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน (ดูบท วิธีการค้นหาตำแหน่งของ Location-Based Services)


0

วิธีการในการค้นหาตำแหน่งของ Location-based Services

Didew Tuesday, October 12, 2010
วิธีการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์พกพานั้นแบ่งได้เป็นสองประเภท ได้แก่ [3]

- Tracking หรือ การติดตาม หมายถึง เมื่อตัวจับสัญญาณได้กำหนดตำแหน่งแล้ว วัตถุที่ต้องการติดตามนั้นจะถูกแปะหรือติดป้าย เพื่อให้เซนเซอร์ติดตามตำแหน่งได้ ข้อมูลของสถานที่นั้น จะถูกส่งไปยังเครือข่ายของเซนเซอร์ก่อน หากตัวอุปกรณ์สื่อสารนั้นต้องการตำแหน่งของวัตถุ เครือข่ายของเซนเซอร์ก็จะส่งข้อมูลไปให้ โดยผ่านการสื่อสารแบบไร้สาย ตัวอย่างเช่น การติดตามตำแหน่งของรถยนต์ด้วยโทรศัพท์มือถือ

0

GIS กับ Location-based Services

Didew


GIS หรือ Geographic Information Systems หมายถึง ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะถูกเก็บในตารางเพื่อการจัดการและวิเคราะห์แผนที่ หลักการของระบบนี้เน้นไปที่ตำแหน่งบนพื้นโลก โดยนำตำแหน่งต่างๆ เชื่อมเข้ากับข้อมูลในตาราง ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ตำแหน่ง  A (บนพื้นโลก) คือโรงเรียน ข้อมูลของตำแหน่ง A จะถูกเก็บในตาราง เช่น ชื่อโรงเรียน ระดับของการศึกษา จำนวนนักเรียน เป็นต้น ดังนั้น ความร่วมมือในการให้ข้อมูลสู่ GIS จึงเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาระบบนี้เป็นอย่างยิ่ง

0

การแบ่งชั้นการสื่อสารของ Location-based Services

Didew

การแบ่งชั้นการสื่อสารใน Location-based Services สามารถแบ่งได้เป็นสามชั้นด้วยกัน ได้แก่ Positioning Layer, middleware Layer และ Application Layer ตามรูปด้านล่าง







 
Copyright 2010 Location Based Services