You Are Reading

0

วิธีการในการค้นหาตำแหน่งของ Location-based Services

Didew Tuesday, October 12, 2010
วิธีการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์พกพานั้นแบ่งได้เป็นสองประเภท ได้แก่ [3]

- Tracking หรือ การติดตาม หมายถึง เมื่อตัวจับสัญญาณได้กำหนดตำแหน่งแล้ว วัตถุที่ต้องการติดตามนั้นจะถูกแปะหรือติดป้าย เพื่อให้เซนเซอร์ติดตามตำแหน่งได้ ข้อมูลของสถานที่นั้น จะถูกส่งไปยังเครือข่ายของเซนเซอร์ก่อน หากตัวอุปกรณ์สื่อสารนั้นต้องการตำแหน่งของวัตถุ เครือข่ายของเซนเซอร์ก็จะส่งข้อมูลไปให้ โดยผ่านการสื่อสารแบบไร้สาย ตัวอย่างเช่น การติดตามตำแหน่งของรถยนต์ด้วยโทรศัพท์มือถือ



- Positioning หรือการระบุตำแหน่ง หมายถึง เมื่อระบบของตัวส่งข้อมูล ส่งข้อมูลออกไปแล้ว ข้อมูลตำแหน่งก็จะถูกส่งตรงไปยังระบบของอุปกรณ์และเก็บไว้เลย โดยไม่ต้องมีการเชื่อมต่อแบบไร้สายอีก ข้อมูลที่ได้รับนั้น อุปกรณ์อื่นจะไม่สามารถอ่านได้ แม้ว่าตัวของระบบเองจะไม่ได้สนใจถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูลก็ตาม

ทั้งสองวิธีการที่กล่าวมานั้นมีเทคนิคในการค้นหาตำแหน่งหลากหลายแบบ ส่วนมากเป็นการรวมหลายๆเทคนิคมาใช้ ได้แก่


Cell of Origin (COO) เทคนิคนี้ใช้เมื่อตัวระบุตำแหน่งนั้นมีโครงสร้างแบบโทรศัพท์มือถือ เทคโนโลยีในการส่งข้อมูลมีระยะที่จำกัด เช่น สัญญาณนั้นมีอยู่เฉพาะรอบๆเสาสัญญาณ หากเสานั้นมีการระบุพื้นที่เฉพาะเจาะจง ก็สามารถที่จะใช้ในการกำหนดตำแหน่งได้

Cell of Origin Credit: Cisco
Time of Arrival (TOA), Time Difference of Arrival (TDOA) เป็นสัญญาณแม่เหล็กที่เคลื่อนที่เร็วมาก (ความเร็วแสง หรือประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซึ่งเวลาในการตอบสนองสั้นมาก หากความเร็วนั้นคงที่ ช่วงเวลาระหว่างการส่ง และรับสัญญาณ ก็สามารถใช้ระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ได้ หากเป็นการใช้ช่วงเวลา จากเสาสัญญาณสองที่เป็นตัววัด จะเรียกเทคนิคนี้ว่า TDOA ในระบบ GSM นั้นจะเรียกว่า E-OTD (Enchanced Observed Time Difference) แทน TDOA


Time of Arrival Credit: Cisco



Angle of Arrival (AOA) ใช้สายอากาศเพื่อหาเส้นทางของสัญญาณจากอุปกรณ์นั้นๆ การคำนวณหาตำแหน่งของอุปกรณ์นั้น ทำได้โดยการส่งเส้นทางจากตำแหน่งเฉพาะหลาย ๆที่(เช่น เสาสัญญาณ) ไปสู่อุปกรณ์ เนื่องจากการหมุนสายอากาศอย่างต่อเนื่องเพื่อวัดระยะทำได้ยาก ตัวรับสัญญาณ จึงใช้ชุดของสายสัญญาณที่ติดตั้งไว้เฉพาะมุมต่างๆ ที่กำหนด เพื่อสร้างจุดตัดหาตำแหน่งของอุปกรณ์


Angle of Arrival Credit: Cisco



การวัดความแรงของสัญญาณ ความแรงของสัญญาณแม่เหล็กนั้น สามารถลดลงได้แม้ในสูญญากาศ การวัดระดับสัญญาณจากตัวอุปกรณ์ จึงสามารถนำมาคำนวณหาตำแหน่งได้ แต่เนื่องจาก สิ่งแวดล้อมต่างๆก็สามารถทำให้การคำนวณคาดเคลื่อนได้เช่นกัน เช่น ต้นไม้ หรือกำแพง ดังนั้นวิธีนี้จึงไม่ได้รับความนิยม



การใช้ข้อมูลจากวีดีโอ การใช้กล้องวีดีโอก็ใช้ในการค้นหาตำแหน่งได้ หากผู้ใช้มีการติดหรือแปะตัวรับสัญญาณเฉพาะเพื่อการหาตำแหน่ง และสามารถตรวจจับได้จากภาพในกล้อง วิธีนี้ การหาตำแหน่งต้องใช้เทคนิค จากการวิเคราะห์รูปภาพ เพื่อตรวจจับและแปลรูปภาพนั้น ตามทฤษฎีแล้ว วิธีนี้มีพื้นฐานมาจาก วิธี AOA ในการวิเคราะมุมของภาพ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลวีดีโอนั้นสามารถส่งข้อมูลสี ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการส่งข้อมูลได้ เช่น การระบุตัวผู้ใช้

0 comments:

Post a Comment

 
Copyright 2010 Location Based Services